ความหมาย และความสำคัญ

          การสํารวจจากระยะไกล เป็นวิชาค่อนข้างใหม่ เพราะเมื่อบัญญัติศัพท์เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยประเทศสหรัฐอเมริกา วิชานี้เป็นวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่ใช้ในการบ่งบอก จำแนก หรือวิเคราะห์คุณลักษณะของวัตถุ และพื้นที่ โดยปราศจากการสัมผัสโดยตรง(สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหล่งชาติ , 2540, หน้า 2คําว่า “รีโมทเซนซิ่ง“ (Remote Sensing) ประกอบขึ้นมาจากการรวม 2 คําซึ่งแยกออกได้ดังนี้ คือ
                    Remote = ระยะไกล
                    Sensing = การรับรู้
          หากรวมคํา 2 คําเข้าด้วยกัน "Remote Sensing" จึงหมายถึง "การรับรู้จากระยะไกล" โดยมีนิยามความหมายนี้ได้กล่าวไว้ว่าา “เป็นการสํารวจตรวจสอบคุณสมบัติสิ่งใดๆ ก็ตาม โดยที่มิได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นเลย” ดังนั้นคําว่า "Remote Sensing" จึงมีความหมายที่นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การสํารวจจากระยะไกล”
          คําจํากัดความ รีโมทเซนซิ่งในช่วงปีค.ศ. 1960 คือ “การใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการบันทึกภาพสิ่งที่อยู่โดยรอบ ซึ่งสามารถนําภาพมาทําการแปลความ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์” และหลังจากปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา คํานิยามของ รีโมทเซนซิ่ง ก็ได้มีความหลากหลายมากขึ้นตามความแตกต่างของลักษณะวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น
Lillesand and Kiefer (1994) ได้กล่าวว่า:
          “remote sensing is the science and art of obtaining information about an object, area, or phenomenon through the analysis of data acquired by a device that is not in contact with the object, area or phenomenon under investigation”
สุรชัย (2536) ได้กล่าวว่า :
          “รีโมทเซนซิง เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุพื้นที่หรือปรากฏการณ์จากเครื่องบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล 3 ลักษณะคือ ช่วงคลื่น (spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุ(Spatial) บนพื้นโลก และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal)”
          หากพิจารณาตามความหมายที่กล่าวมา การสํารวจจากระยะไกล จะเกี่ยวข้องกับการสํารวจเก็บบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย แหล่งข้อมูลที่ต้องการศึกษา (Data Source) พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) อุปกรณ์บันทึกข้อมูล (Sensor)และกรรมวิธีประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
          ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่า รีโมทเซนซิ่ง เป็นเครื่องมือทางการวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากเพราะได้ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ เป็นข้อมูลที่ครอบคลุมบริเวณกว้าง และสามารถบันทึกภาพในบริเวณเดิมในเวลาที่แน่นอน เหมาะที่จะนํามาใช้ศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลที่เพิ่มประสิทธิภาพของมนุษย์ในการวางแผนงานและการตัดสินใจได้ดีขึ้น

     แหล่งที่มา  : http://www.ee.eng.cmu.ac.th/~tharadol/teach/912706/geo_03.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น